วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของดอก

 



ส่วนประกอบของดอก


                      พืชดอก หมายถึงพืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะออกดอกเพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ เช่น กุหลาบ มะลิ ทานตะวัน ชบา กล้วยไม้เป็นต้น
 
ส่วนประกอบของดอก
       พืชมีอยู่หลายชนิดหลายพันธุ์ ดอกของพืชดอกจึงมีลักษณะขนาดและสีที่ ต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด ดอกจะมีส่วนประกอบที่สําคัญดังนี้
1. กลีบเลี้ยง เป็นกลีบเล็ก ๆ สีเขียว อยู่ล่างสุดของดอก ในระยะที่ดอก เริ่มผลิดอกออกมาใหม่ๆ เราจะเห็นดอกตูมสีเขียว เมื่อดอกตูมขยายโตขึ้น สีเขียวที่หุ้มดอกจะแยกออกมารองรับกลีบดอกกลีบสีเขียวนั้นคือกลีบเลี้ยงนั่น เอง กลีบเลี้ยงจะทําหน้าที่ห่อหุ้มดอกตูม และป้องกันอันตรายให้กลีบดอกในขณะที่ยังออ่นอยู่
2.กลีบดอก เป็นส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมาจากกลีบเลี้ยง กลีบดอกส่นใหญ่ จะมีสีสวยสะดุดตา หลายชนิดมีกลิ่นหอม ความสวยงามของดอกจะขึ้นอยู่กับสี ลักษณะและจํานวนของกลีบดอกเป็นสําคัญ กลีบดอกเป็นส่วนประกอบของ ดอกที่บอบชํ่าง่ายและร่วงโรยเร็วกว่าส่วนประกอบอื่น
3. เกสรตัวผู้ มีลักษณะทั้วไปเป็นคล้ายหลอดอันเล็ก ๆ มักมีสีขาว ปลาย หลอดจะมีอับใส่ละอองเกสร รูปร่างค่อนข้างกลมเกสรตัวผู้จะอยู่ถัดจากกลีบดอกเข้า มาข้างในดอก ก้านของเกสรตัวผู้อาจจะติดกับกลีบดอก หรือแยกออกมาต่างหาก ก็ได้ แล้วแต่ชนิดของพืช ดอกไม่ดอกหนึ่ง ๆ อาจมีเกสรตัวผู้ตั้งแต่หนึ่งอันไปจนถึง หลาย ๆ อัน
4.เกสรตัวเมีย เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของดอด อาจจะมีอันเดียวหรือ หลายอันก็ได้ เกสรตัวเมียโดยทั่วไปจะประกอบด้วยรังไข่ที่อยู่ล่างสุด บริเวณฐาน รองดอก ภายในรังไข่จะบรรจุไข่อ่อนเล็ก ๆ ไว้ เหนือรังไข่จะเป็นท่อยาวขึ้นมา เรียกว่า ก้านชูเกสร ในท่อของก้านชูเกสรจะมีเหนียว ๆ อยู่ เพื่อนำเชื้อตัว ผู้ลงมาผสมกับเชื้อตัวเมียในรังไข่ และบนสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีนํ้า เหนียวๆ อยู่เช่นกัน นํ้าเหนียวๆ นี้จะช่วยยึดเกาะเกสรตัวผู้ให้เข้ามาผสมกับเกสร ตัวเมียได้ดีขึ้น
5.ฐานรองดอก เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่รองรับส่วนอื่น ๆ ของดอก ฐานรองดอกเป็นที่เจริญเติบโตแผ่ขยายต่อออกมาจาปลายก้านดอก มักจะมีกลีบ เลี้ยงหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ฐานรองดอกของพืชบางชนิดอาจะหุ้มรังไขไว้ทั้งหมด เมื่อรังไข่เจริญขึ้น ฐานรองดอกก็เจริญด้วย และฐานรองดอกของพืชบางชนิด กลางเป็นเนื้อของผลที่ใช้รับทานได้เช่น ชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิล สาลี่ เป็นต้น


                           ประเภทของดอกไม้
จำแนกตามส่วนประกอบของดอก
  • ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง 4 ส่วนในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ
  • ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ดอกบานเย็น (ขาดกลีบดอก)
จำแนกตามลักษณะของเพศ
  • ดอกสมบูรณ์เพศ คือดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน เช่น ดอกตำลึง พู่ระหง และกุหลาบ
  • ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือในดอกจะมีเพียงเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้เรียก ดอกตัวผู้ ดอกที่มีแต่เกสรตัวเมียเรียก ดอกตัวเมีย ดอกที่ไม่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียเรียก ดอกเป็นกลางหรือดอกเป็นหมัน และหากในพืชต้นหนึ่งๆ มีดอกสมบูรณ์เพศหรือมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน แม้จะคนละดอกหรือต่างช่อดอก เรียกพืชต้นนั้นว่า พืชกระเทย เช่น ข้าวโพด ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกต่างช่อดอก มะพร้าว ดอกตัวผู้และตัวเมียต่างดอกในช่อเดียวกัน ตำลึง ฟักทอง ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกดอกกัน ส่วนพืชที่มีดอกเพียงเพศเดียวทั้งต้น เรียกพืชเพศแยก เช่น อินทผาลัม มะเดื่อ ตาล พืชบางชนิดมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกัน เช่น มะละกอ เงาะ และทานตะวัน
จำแนกตามจำนวนดอก
ดอกเดี่ยว เป็นดอกที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เป็นดอกเดียวโดดๆ ในแต่ละข้อของกิ่งหรือลำต้น เช่น ชบา จำปี การะเวก
ดอกช่อ เป็นดอกที่เกิดเป็นกลุ่มอยู่บนก้านดอกใหญ่เดียวกัน และประกอบด้วยก้านดอกย่อยๆ หลายดอก ลักษณะการติดของดอกทำให้เกิดช่อดอกแบบต่างๆ กัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการบานของดอก คือ
ดอกช่อแบบอินดีเทอร์มิเนต (Indeterminate inflorescence) เป็นดอกช่อที่ดอกย่อยที่อยู่ล่างสุดหรือริมนอกสุดจะบานและแก่ก่อนดอกอื่นที่อยู่ถัดเข้าไปข้างในหรืออยู่เหนือขึ้นไปข้างบน ดอกย่อยอาจมีหรือไม่มีก้านดอกย่อยก็ได้ ถ้ามีก้านดอกย่อยโดยส่วนใหญ่ก้านที่อยู่ล่างสุดจะยาวที่สุด
ดอกช่อแบบดีเทอร์มิเนต (Determinate inflorescence) เป็นดอกช่อที่ดอกย่อยที่อยู่ในสุดหรือบนสุดจะบานและแก่ก่อนดอกที่อยู่วงนอนหรือดอกที่อยู่ถัดลงมาข้างล่าง นอกจากนี้ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะผสมผสานระหว่างดีเทอร์มิเนต และ อินดีเทอร์มิเนต ในช่อเดียวกัน เรียกว่า Thysus

จำแนกตามลักษณะสมมาตรของดอก
ดอกสมมาตรแบบรัศมี คือดอกที่ส่วนประกอบของดอกเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกขนาดเท่าๆ กัน สามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่ากันโดยผ่าได้หลายแนวตามแนวรัศมีของดอก เช่น จำปี บัว ชบา
ดอกสมมาตรครึ่งซีก คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกมีขนาดไม่เท่ากัน การจัดระเบียบของดอกไม่เป็นรัศมี ถ้าผ่าเป็นสองซีกให้เหมือนกันจะสามารถผ่าได้เพียงแนวเดียวเท่านั้น เช่น ดอกกล้วยไม้ ชงโค อัญชัน


แหล่งที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/sec03p03.html 
31 มกราคม 2556


17 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดี รูปสวยค่ะ

    ตอบลบ
  2. รูปสวยดี เนื้อหาก็น่าอ่านมาก

    ตอบลบ
  3. รวบรวมข้อมูลไว้ได้ดีมากเลย

    ตอบลบ
  4. ตัวหนังสือ บางอันก็เล็ก บางอันก็ใหญ่ไปน่ะค่ะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาน่าอ่าน รูปแบบก็ดี ตัวหนังสือสมบูรณ์ รูปภาพก็ชัดเจน

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาน่าอ่าดีเเต่มีตัวหนังสือเล็กบบ้างใหญบ้างนะไม่ค่อยจะรู้นื่อง

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาน่าสนใจ แต่ตัวหนังสือเล็กบ้างใหญ่บ้าง

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาดี แต่ตัวหนังสือไม่เท่ากันค่ะ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาเยอะดีมากค่ะ

    ตอบลบ