วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเภทของกรด

 

 

ประเภทของกรด

กรดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  1. กรดอินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากธรรมชาติ เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต เช่น กรดน้ำส้ม (กรดน้ำส้ม) กรดซิตริก (กรดมะนาว) กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) กรดอะมิโน ฯลฯ
  2. กรดอนินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ บางครั้งเรียกว่ากรดแร่ เช่น กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) กรดไนตริก (กรดดินประสิว) ฯลฯ
หรืออาจแบ่งตามความสามารถในการแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน มี 2 ชนิดคือ กรดแก่และกรดอ่อน
  1. กรดแก่ กรดกลุ่มนี้มีค่า pKa น้อยกว่า 1.74 เช่น กรดไฮโดรคลอริก กรดไนตริก กรดซัลฟิวริก ฯลฯ
  2. กรดอ่อน กรดกลุ่มนี้มีค่า pKa ไม่น้อยกว่า 1.74 แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นกลาง เช่น กรดน้ำส้ม กรดคาร์บอนิก กรดไฮโดรซัลฟิวริก ฯลฯ






กรดไนตริก (HNO3)



กรดไนตริก (HNO3) เป็นของเหลวใส ไม่มีสี สีเหลืองอ่อน หรือสีชา กลิ่นฉุน เป็นกรดแก่ น้ำหนักโมเลกุล 63.01 จุดเดือด 83 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 1.5 ความดันไอ 4.3 มม.ปรอทที่ 20องศาเซลเซียส ระเหยได้เล็กน้อย ละลายน้ำได้ดี เป็นสารออกซิไดเซอร์อย่างแรง เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับสารตัวทำละลายอินทรีย์ส่วนมาก ไวต่อการสั่นสะเทือนและการเสียดสี ซึ่งอาจทำให้ระเบิดได้ แต่ไม่ติดไฟ เมื่อได้รับความร้อนสูงหรือถูกแสงแดดจะสลายตัวเกิดก๊าซพิษไนโตรเจนไดออกไซด์ กรดไนตริกสามารถกัดกร่อนโลหะทุกชนิด ยกเว้นเหล็กกล้าไร้สนิมและอะลูมิเนียม
แหล่งกำเนิดส่วนใหญ่ผลิตจากไนโตรเจนในอากาศโดยกรรมวิธีต่างๆ เช่น ใช้ประกายไฟทำให้รวมตัวกับออกซิเจนเกิดไนโตรเจนมอนอกไซด์ และทำปฏิกิริยาต่อก๊าซออกซิเจน หินปูน และกรดซัลฟุริก จนได้กรดไนตริก หรือการออกซิเดชั่นของแอมโมเนียกับอากาศโดยตัวเร่งแพลทตินัม (Platinum catalyst)
ความเข้มข้นของกรดไนตริกในท้องตลาดมีความแตกต่างกันไป เช่น ร้อยละ 38 (30 degrees) ไปจนถึงร้อยละ 90 หรือ 95 ซึ่งเรียกว่าฟูมมิงไนตริก (Fuming nitric) และมีความถ่วงจะเพาะประมาณ 1.6 กรดที่ใช้ทั่วไปมีความเข้มข้นประมาณน้อยละ 68 และมีสีชา เนื่องจากก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ละลายอยู่ในกรดนั้น
อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากหายใจเข้าไปจะระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ เมื่อเปรียบเทียบกับกรดซัลฟุริก จะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อน้อยกว่าและมีความเป็นพิษเช่นเดียวกับกรดไฮโดรคลอริก
พิษเรื้อรังจากการสัมผัสช้า และนานๆ ทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อปอดและทางเดินหายใจ มีการอักเสบเรื้อรังของปอดและท่อลม ไอระเหยหรือละอองไอของกรดทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน การสัมผัสที่ผิวหนังทำให้บริเวณนั้นเป็นรอยคราบสีเหลือง ต่างจากกรดไฮโดรคลอริกที่เป็นสีน้ำตาลหรือดำ
เนื่องจากเป็นสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับสารไวไฟ สารรีดิวเซอร์ เบส และสารอินทรีย์อีกหลายชนิด จึงต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงาน เก็บในที่เย็นและมืด หลีกเลี่ยงจากวัสดุไวไฟต่างๆ หลีกเลี่ยงแสงแดดและความร้อน ป้องกันการสลายตัวเกิดก๊าซพิษ การเกิดเพลิงไหม้และการระเบิด และหลีกเลี่ยงการกัดกร่อนโลหะต่างๆ โดยกรดนี้


กรดซัลฟุริก (H2SO4)


กรดซัลฟุริก (H2SO4) มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความเป็นกรดสูง (กรดแก่) น้ำหนักโมเลกุล 98 จุดเดือด 276 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 1.84 ไม่ติดไฟ ละลายน้ำได้ กรดเข้มข้นมีลักษณะหนืดข้นเล็กน้อย เมื่อทำให้ร้อนมากจะสลายตัว ให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กรดเข้มข้นมีคุณสมบัติดูดน้ำได้ ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนและออกซิเจนในโมเลกุลของไม้และกระดาษ น้ำตาลทราย เหลือแต่คาร์บอนเป็นสีน้ำตาลถึงดำ แหล่งกำเนิดได้จากปฏิกิริยาของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับออกซิเจนและน้ำ กรดเข้มข้นที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความเข้มข้นร้อยละ 95 ขึ้นไป
กรดซัลฟุริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ ตัวแลกเปลี่ยนอิออน และสามารถใช้เป็นสารดูดความชื้นได้ เป็นกรดที่ใช้มากในอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนง เช่น ผลิตปุ๋ย ใยสังเคราะห์ สีย้อมผ้า ผงซักฟอก กระดาษ เคมี แบตเตอรี่ ชุบโลหะ และในห้องปฏิบัติการ
อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกิดอันตรายได้มากโดยมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง ถ้าสัมผัสผิวหนังทำให้เป็นแผลไหม้ ปวดแสบปวดร้อน การสัมผัสถูกตาทำให้ตาแดง ปวดตา และสายตาพร่ามัว หากหายใจเอาละอองหรือไอระเหยเข้าไปจะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปาก จมูก คอ และปอด คันและระคายในจมูก คอหอย มีอาการไอ จามและหายใจลำบาก
พิษเรื้อรัง จากการได้รับละอองไอนานๆ ทำให้ฟันกร่อน และเปลี่ยนสี เคืองนัยน์ตาเรื้อรัง และมีการอักเสบเรื้อรังของจมูก และทางเดินหายใจและปอด
กรดซัลฟุริกกัดกร่อนโลหะส่วนใหญ่ เกิดก๊าซไฮโดรเจน และถ้ามีการเผาไหม้ได้รับความร้อนจะเกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและคนที่อยู่บริเวณนั้น การทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดความร้อนสูงทำให้ระเบิดหรือเกิดอัคคีภัยได้ เช่นเดียวกับการได้รับแสงแดดหรือความร้อน

แหล่งที่มา

6 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดี แต่น่าจะมีเพิ่มเติม มากกว่านี้

    ตอบลบ
  2. ตัวหนังสือไม่เท่่ากันค่ะ ปรับนิดจะสวยมากมากเลยนะค่ะ

    ตอบลบ
  3. จัดตัวหนังสืออีกนิดนะคะ

    ตอบลบ
  4. ปรับตัวหนังสืออีกนะจร๊

    ตอบลบ
  5. ตัวหนังสือใหญ่ไปนะค่ะ แต่มีความรู้มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ