วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของดอก

 



ส่วนประกอบของดอก


                      พืชดอก หมายถึงพืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะออกดอกเพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ เช่น กุหลาบ มะลิ ทานตะวัน ชบา กล้วยไม้เป็นต้น
 
ส่วนประกอบของดอก
       พืชมีอยู่หลายชนิดหลายพันธุ์ ดอกของพืชดอกจึงมีลักษณะขนาดและสีที่ ต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใด ดอกจะมีส่วนประกอบที่สําคัญดังนี้
1. กลีบเลี้ยง เป็นกลีบเล็ก ๆ สีเขียว อยู่ล่างสุดของดอก ในระยะที่ดอก เริ่มผลิดอกออกมาใหม่ๆ เราจะเห็นดอกตูมสีเขียว เมื่อดอกตูมขยายโตขึ้น สีเขียวที่หุ้มดอกจะแยกออกมารองรับกลีบดอกกลีบสีเขียวนั้นคือกลีบเลี้ยงนั่น เอง กลีบเลี้ยงจะทําหน้าที่ห่อหุ้มดอกตูม และป้องกันอันตรายให้กลีบดอกในขณะที่ยังออ่นอยู่
2.กลีบดอก เป็นส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมาจากกลีบเลี้ยง กลีบดอกส่นใหญ่ จะมีสีสวยสะดุดตา หลายชนิดมีกลิ่นหอม ความสวยงามของดอกจะขึ้นอยู่กับสี ลักษณะและจํานวนของกลีบดอกเป็นสําคัญ กลีบดอกเป็นส่วนประกอบของ ดอกที่บอบชํ่าง่ายและร่วงโรยเร็วกว่าส่วนประกอบอื่น
3. เกสรตัวผู้ มีลักษณะทั้วไปเป็นคล้ายหลอดอันเล็ก ๆ มักมีสีขาว ปลาย หลอดจะมีอับใส่ละอองเกสร รูปร่างค่อนข้างกลมเกสรตัวผู้จะอยู่ถัดจากกลีบดอกเข้า มาข้างในดอก ก้านของเกสรตัวผู้อาจจะติดกับกลีบดอก หรือแยกออกมาต่างหาก ก็ได้ แล้วแต่ชนิดของพืช ดอกไม่ดอกหนึ่ง ๆ อาจมีเกสรตัวผู้ตั้งแต่หนึ่งอันไปจนถึง หลาย ๆ อัน
4.เกสรตัวเมีย เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของดอด อาจจะมีอันเดียวหรือ หลายอันก็ได้ เกสรตัวเมียโดยทั่วไปจะประกอบด้วยรังไข่ที่อยู่ล่างสุด บริเวณฐาน รองดอก ภายในรังไข่จะบรรจุไข่อ่อนเล็ก ๆ ไว้ เหนือรังไข่จะเป็นท่อยาวขึ้นมา เรียกว่า ก้านชูเกสร ในท่อของก้านชูเกสรจะมีเหนียว ๆ อยู่ เพื่อนำเชื้อตัว ผู้ลงมาผสมกับเชื้อตัวเมียในรังไข่ และบนสุดเป็นยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีนํ้า เหนียวๆ อยู่เช่นกัน นํ้าเหนียวๆ นี้จะช่วยยึดเกาะเกสรตัวผู้ให้เข้ามาผสมกับเกสร ตัวเมียได้ดีขึ้น
5.ฐานรองดอก เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่รองรับส่วนอื่น ๆ ของดอก ฐานรองดอกเป็นที่เจริญเติบโตแผ่ขยายต่อออกมาจาปลายก้านดอก มักจะมีกลีบ เลี้ยงหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ฐานรองดอกของพืชบางชนิดอาจะหุ้มรังไขไว้ทั้งหมด เมื่อรังไข่เจริญขึ้น ฐานรองดอกก็เจริญด้วย และฐานรองดอกของพืชบางชนิด กลางเป็นเนื้อของผลที่ใช้รับทานได้เช่น ชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิล สาลี่ เป็นต้น


                           ประเภทของดอกไม้
จำแนกตามส่วนประกอบของดอก
  • ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง 4 ส่วนในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ
  • ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ดอกบานเย็น (ขาดกลีบดอก)
จำแนกตามลักษณะของเพศ
  • ดอกสมบูรณ์เพศ คือดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน เช่น ดอกตำลึง พู่ระหง และกุหลาบ
  • ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือในดอกจะมีเพียงเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้เรียก ดอกตัวผู้ ดอกที่มีแต่เกสรตัวเมียเรียก ดอกตัวเมีย ดอกที่ไม่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียเรียก ดอกเป็นกลางหรือดอกเป็นหมัน และหากในพืชต้นหนึ่งๆ มีดอกสมบูรณ์เพศหรือมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน แม้จะคนละดอกหรือต่างช่อดอก เรียกพืชต้นนั้นว่า พืชกระเทย เช่น ข้าวโพด ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกต่างช่อดอก มะพร้าว ดอกตัวผู้และตัวเมียต่างดอกในช่อเดียวกัน ตำลึง ฟักทอง ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกดอกกัน ส่วนพืชที่มีดอกเพียงเพศเดียวทั้งต้น เรียกพืชเพศแยก เช่น อินทผาลัม มะเดื่อ ตาล พืชบางชนิดมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกัน เช่น มะละกอ เงาะ และทานตะวัน
จำแนกตามจำนวนดอก
ดอกเดี่ยว เป็นดอกที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เป็นดอกเดียวโดดๆ ในแต่ละข้อของกิ่งหรือลำต้น เช่น ชบา จำปี การะเวก
ดอกช่อ เป็นดอกที่เกิดเป็นกลุ่มอยู่บนก้านดอกใหญ่เดียวกัน และประกอบด้วยก้านดอกย่อยๆ หลายดอก ลักษณะการติดของดอกทำให้เกิดช่อดอกแบบต่างๆ กัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการบานของดอก คือ
ดอกช่อแบบอินดีเทอร์มิเนต (Indeterminate inflorescence) เป็นดอกช่อที่ดอกย่อยที่อยู่ล่างสุดหรือริมนอกสุดจะบานและแก่ก่อนดอกอื่นที่อยู่ถัดเข้าไปข้างในหรืออยู่เหนือขึ้นไปข้างบน ดอกย่อยอาจมีหรือไม่มีก้านดอกย่อยก็ได้ ถ้ามีก้านดอกย่อยโดยส่วนใหญ่ก้านที่อยู่ล่างสุดจะยาวที่สุด
ดอกช่อแบบดีเทอร์มิเนต (Determinate inflorescence) เป็นดอกช่อที่ดอกย่อยที่อยู่ในสุดหรือบนสุดจะบานและแก่ก่อนดอกที่อยู่วงนอนหรือดอกที่อยู่ถัดลงมาข้างล่าง นอกจากนี้ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะผสมผสานระหว่างดีเทอร์มิเนต และ อินดีเทอร์มิเนต ในช่อเดียวกัน เรียกว่า Thysus

จำแนกตามลักษณะสมมาตรของดอก
ดอกสมมาตรแบบรัศมี คือดอกที่ส่วนประกอบของดอกเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกขนาดเท่าๆ กัน สามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่ากันโดยผ่าได้หลายแนวตามแนวรัศมีของดอก เช่น จำปี บัว ชบา
ดอกสมมาตรครึ่งซีก คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกมีขนาดไม่เท่ากัน การจัดระเบียบของดอกไม่เป็นรัศมี ถ้าผ่าเป็นสองซีกให้เหมือนกันจะสามารถผ่าได้เพียงแนวเดียวเท่านั้น เช่น ดอกกล้วยไม้ ชงโค อัญชัน


แหล่งที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/sec03p03.html 
31 มกราคม 2556


ผลไม้ต้านโลก



                      กินผลไม้พื้นบ้านต้านโรค
 
         เมืองไทยมีผลไม้พื้นบ้านราคาย่อมเยาอยู่มากมายที่ให้ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายในปริมาณสูง อีกทั้ง ยังได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ว่าสารเคมีที่อยู่ในผลไม้นั้นมีสรรพคุณเป็นยากระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ รวมถึงเสริมสร้างภูมิต้านทานได้อีกด้วย


ฝรั่ง ผลไม้พื้นบ้านราคาถูก และออกผลตลอดปี ทุกสายพันธุ์ล้วนเป็นสุดยอดผลไม้ที่มีวิตามินซี ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงมาก ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น จึงสามารถป้องกันการเป็นไข้หวัดได้ หรือช่วยสร้างรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันที่เราเคยท่องจำกันในสมัยเด็ก ๆ ได้อีกด้วย



มะเฟือง นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้วยังให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างเต็มเปี่ยม มะเฟืองอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัสและแคลเซียม ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแก้ท้องผูกช่วยขับเสมหะได้




ทับทิม ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยว ออกฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง แก้เจ็บคอ แก้โลหิตจาง ห้ามเลือด รักษาแผล แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องร่วง นอกจากนี้ หากดื่มน้ำทับทิมตอนเช้าวันละ 1 แก้วจะช่วยลดอาการคลื่นไส้ ในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้

 

        มะละกอแขกดำ ผลไม้สุดร่อยที่มีประโยชน์ใช้สอยอีกมากมาย เนื้อมะละกออุดมไปด้วยวิตามินซี มีเบต้าแคโรทีน ไลโคพีน รวมถึงมีแมกนีเซียม ทองแดง โพแทสเซียมและใยอาหาร เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงให้ผิวพรรณชุ่มชื้น มีเส้นใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ขจัดไขมันในผนังลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สะอาดดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น

ส้มโอ ในส้มโอมีสารเพคติน (Pectin) สูง มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและมีสารโมโนเทอร์ปืน ที่ช่วยในการจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้นหากรับประทานส้มโอหลังมื้ออาหารจะช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


         มะขาม เนื้อมะขามมีสารแอนทราควินิน (Antraquinone) ซึ่งช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ อีกทั้งยังมีกรดอินทรีย์ (Organic Acid) อยู่หลายชนิด เช่น กรดทาร์ทาร์ริก (Tartaric Acid) และกรดซิตริค (Citric Acid) มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เพิ่มกากใยอาหาร และช่วยให้ขับถ่ายสะดวก


มะยม เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีสูง มีฤทธิ์ช่วยสมานแผลและใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ


         การเลือกกินผลไม้ทุกชนิด นอกจากต้องกินผลไม้ที่สดสะอาดเพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าสูงสุดแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอเพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกลัวโรคภัยใด ๆ มากล้ำกรายแล้ว


ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ
1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
2. มะเขือเทศราชินี
3. มะละกอสุก
4. กล้วยไข่
5. มะม่วงยายกล่ำ
6. มะปรางหวาน
7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง
8. มะยงชิด
9. มะม่วงเขียวเสวยสุก
10. สับปะรดภูเก็ต
    ผลไม้ทั้งหมดนี้มีเนื้อสีเหลือ

ส่วนผลไม้ที่ไม่มีเบต้าแคโรทีนเลย
1. แก้วมังกร
2. มะขามเทศ
3. มังคุด
4. ลิ้นจี่
5. สาลี่
10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ
1. ฝรั่งกลมสาลี่
2. ฝรั่งไร้เมล็ด
3. มะขามป้อม
4. มะขามเทศ
5. เงาะโรงเรียน
6. ลูกพลับ
7. สตรอเบอร์รี่
8. มะละกอสุก
9. ส้มโอขาว
10. แตงกวา
11. พุทราแอปเปิล
การศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรกคือ
1. ขนุนหนัง
2. มะขามเทศ
3. มะม่วงเขียวเสวยดิบ
4. มะเขือเทศราชินี
5. มะม่วงเขียวเสวยสุก
6. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
7. มะม่วงยายกล่ำสุก
8. แก้วมังกรเนื้อสีชมพู
9. สตรอเบอร์รี่
10. กล้วยไข่

 
ที่มา
 http://health.kapook.com/view24770.html 31 มกราคม 2556












ชนิดของยา

 

ชนิดของยา

      มีดังนี้

ยาแผนปัจจุบัน หมายถึง ยาที่ใช้สำหรับใช้ประกอบวิชาเวชกรรม


ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้สำหรับประกอบโรคศิลป์แผนโบราณ ซึ่งอยู่ในตำราแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาโบราณ


ยาอันตราย หมายถึง ยาปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาอันตราย


ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาควบคุมพิเศษ


ยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน สามารถใช้ได้เลยไม่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์


ยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ ที่ไม่ได้นำไปปรุงแต่งใดๆ


ยาบรรจุเสร็จ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นเสร็จในรูปแบบต่างๆทางเภสัชกรรม มีบรรจุหีบห่อปิดไว้ และมีฉลากครบถ้วน


ยาใช้ภายนอก หมายถึง ยาปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ใช้สำหรับภายนอกร่างกาย เช่น ถู ทา


ยาใช้เฉพาะที่ หมายถึง ยาปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่ใช้ได้เฉพาะที่ตามที่ระบุในฉลากเท่านั้น


แหล่งที่มา

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/ya.html   31 มกราคม 2556

ประเภทของกรด

 

 

ประเภทของกรด

กรดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  1. กรดอินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากธรรมชาติ เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต เช่น กรดน้ำส้ม (กรดน้ำส้ม) กรดซิตริก (กรดมะนาว) กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) กรดอะมิโน ฯลฯ
  2. กรดอนินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ บางครั้งเรียกว่ากรดแร่ เช่น กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) กรดไนตริก (กรดดินประสิว) ฯลฯ
หรืออาจแบ่งตามความสามารถในการแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน มี 2 ชนิดคือ กรดแก่และกรดอ่อน
  1. กรดแก่ กรดกลุ่มนี้มีค่า pKa น้อยกว่า 1.74 เช่น กรดไฮโดรคลอริก กรดไนตริก กรดซัลฟิวริก ฯลฯ
  2. กรดอ่อน กรดกลุ่มนี้มีค่า pKa ไม่น้อยกว่า 1.74 แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นกลาง เช่น กรดน้ำส้ม กรดคาร์บอนิก กรดไฮโดรซัลฟิวริก ฯลฯ






กรดไนตริก (HNO3)



กรดไนตริก (HNO3) เป็นของเหลวใส ไม่มีสี สีเหลืองอ่อน หรือสีชา กลิ่นฉุน เป็นกรดแก่ น้ำหนักโมเลกุล 63.01 จุดเดือด 83 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 1.5 ความดันไอ 4.3 มม.ปรอทที่ 20องศาเซลเซียส ระเหยได้เล็กน้อย ละลายน้ำได้ดี เป็นสารออกซิไดเซอร์อย่างแรง เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับสารตัวทำละลายอินทรีย์ส่วนมาก ไวต่อการสั่นสะเทือนและการเสียดสี ซึ่งอาจทำให้ระเบิดได้ แต่ไม่ติดไฟ เมื่อได้รับความร้อนสูงหรือถูกแสงแดดจะสลายตัวเกิดก๊าซพิษไนโตรเจนไดออกไซด์ กรดไนตริกสามารถกัดกร่อนโลหะทุกชนิด ยกเว้นเหล็กกล้าไร้สนิมและอะลูมิเนียม
แหล่งกำเนิดส่วนใหญ่ผลิตจากไนโตรเจนในอากาศโดยกรรมวิธีต่างๆ เช่น ใช้ประกายไฟทำให้รวมตัวกับออกซิเจนเกิดไนโตรเจนมอนอกไซด์ และทำปฏิกิริยาต่อก๊าซออกซิเจน หินปูน และกรดซัลฟุริก จนได้กรดไนตริก หรือการออกซิเดชั่นของแอมโมเนียกับอากาศโดยตัวเร่งแพลทตินัม (Platinum catalyst)
ความเข้มข้นของกรดไนตริกในท้องตลาดมีความแตกต่างกันไป เช่น ร้อยละ 38 (30 degrees) ไปจนถึงร้อยละ 90 หรือ 95 ซึ่งเรียกว่าฟูมมิงไนตริก (Fuming nitric) และมีความถ่วงจะเพาะประมาณ 1.6 กรดที่ใช้ทั่วไปมีความเข้มข้นประมาณน้อยละ 68 และมีสีชา เนื่องจากก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ละลายอยู่ในกรดนั้น
อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากหายใจเข้าไปจะระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ เมื่อเปรียบเทียบกับกรดซัลฟุริก จะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อน้อยกว่าและมีความเป็นพิษเช่นเดียวกับกรดไฮโดรคลอริก
พิษเรื้อรังจากการสัมผัสช้า และนานๆ ทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อปอดและทางเดินหายใจ มีการอักเสบเรื้อรังของปอดและท่อลม ไอระเหยหรือละอองไอของกรดทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน การสัมผัสที่ผิวหนังทำให้บริเวณนั้นเป็นรอยคราบสีเหลือง ต่างจากกรดไฮโดรคลอริกที่เป็นสีน้ำตาลหรือดำ
เนื่องจากเป็นสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับสารไวไฟ สารรีดิวเซอร์ เบส และสารอินทรีย์อีกหลายชนิด จึงต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงาน เก็บในที่เย็นและมืด หลีกเลี่ยงจากวัสดุไวไฟต่างๆ หลีกเลี่ยงแสงแดดและความร้อน ป้องกันการสลายตัวเกิดก๊าซพิษ การเกิดเพลิงไหม้และการระเบิด และหลีกเลี่ยงการกัดกร่อนโลหะต่างๆ โดยกรดนี้


กรดซัลฟุริก (H2SO4)


กรดซัลฟุริก (H2SO4) มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความเป็นกรดสูง (กรดแก่) น้ำหนักโมเลกุล 98 จุดเดือด 276 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 1.84 ไม่ติดไฟ ละลายน้ำได้ กรดเข้มข้นมีลักษณะหนืดข้นเล็กน้อย เมื่อทำให้ร้อนมากจะสลายตัว ให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กรดเข้มข้นมีคุณสมบัติดูดน้ำได้ ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนและออกซิเจนในโมเลกุลของไม้และกระดาษ น้ำตาลทราย เหลือแต่คาร์บอนเป็นสีน้ำตาลถึงดำ แหล่งกำเนิดได้จากปฏิกิริยาของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับออกซิเจนและน้ำ กรดเข้มข้นที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความเข้มข้นร้อยละ 95 ขึ้นไป
กรดซัลฟุริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ ตัวแลกเปลี่ยนอิออน และสามารถใช้เป็นสารดูดความชื้นได้ เป็นกรดที่ใช้มากในอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนง เช่น ผลิตปุ๋ย ใยสังเคราะห์ สีย้อมผ้า ผงซักฟอก กระดาษ เคมี แบตเตอรี่ ชุบโลหะ และในห้องปฏิบัติการ
อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เกิดอันตรายได้มากโดยมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง ถ้าสัมผัสผิวหนังทำให้เป็นแผลไหม้ ปวดแสบปวดร้อน การสัมผัสถูกตาทำให้ตาแดง ปวดตา และสายตาพร่ามัว หากหายใจเอาละอองหรือไอระเหยเข้าไปจะระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปาก จมูก คอ และปอด คันและระคายในจมูก คอหอย มีอาการไอ จามและหายใจลำบาก
พิษเรื้อรัง จากการได้รับละอองไอนานๆ ทำให้ฟันกร่อน และเปลี่ยนสี เคืองนัยน์ตาเรื้อรัง และมีการอักเสบเรื้อรังของจมูก และทางเดินหายใจและปอด
กรดซัลฟุริกกัดกร่อนโลหะส่วนใหญ่ เกิดก๊าซไฮโดรเจน และถ้ามีการเผาไหม้ได้รับความร้อนจะเกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและคนที่อยู่บริเวณนั้น การทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดความร้อนสูงทำให้ระเบิดหรือเกิดอัคคีภัยได้ เช่นเดียวกับการได้รับแสงแดดหรือความร้อน

แหล่งที่มา

ร่างกายของเรา


ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา

โครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์

 

ในการศึกษาทางจิตวิทยา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งการที่มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมานั้นเป็นเพราะระบบการทำงานของร่างกาย ไม่ว่านักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้ามาเป็นระยะเวลายาวนานต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่า ร่างกายมนุษย์ สัตว์ หรือพืชทั้งหลายจะมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดที่ไม่ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนกระทั่งถึงส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุด แต่ละส่วนจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน โดยไม่มีส่วนใดที่สามารถทำงานอย่างอิสระยกเว้นเม็ดเลือด โดยประมาณได้ว่า 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของร่างกายผู้ใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ส่วนที่เหลือเป็นสารประกอบทางเคมี สารประกอบเหล่านี้รวมตัวกันเป็นเซลล์ หลายร้อยชนิด ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของร่างกาย มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนพื้นโลก โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ 80 – 100 ล้านล้านเซลล์แต่ละชุดจะถูกกำหนดให้มีการเจริญเติบโตและทำหน้าที่เฉพาะ โดยเซลล์ชนิดเดียวกันจะรวมตัวเป็นเนื้อเยื่อ (tissues) เนื้อเยื่อหลาย ๆ ประเภทเมื่อมาทำงานร่วมกัน เรียกว่าอวัยวะ (organ) แต่ละอวัยวะเมื่อทำงานร่วมกันเรียกว่าระบบ (system)   อาจแสดงโดยแผนผังต่อไปนี้

            ดังนั้น เมื่อเซลล์มารวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อพิเศษ เช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก ฯลฯ เนื้อเยื่อเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะและในที่สุดอวัยวะเหล่านี้จะถูก จัดสรรเป็นระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมต่าง ๆ และระบบประสาท เป็นต้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายระบบต่าง ๆ ในร่างกายมีการทำงานที่สัมพันธ์กันเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่าง ปกติ การทำงานของระบบภายในร่างกาย อาจจำแนกออกได้เป็น 10 ระบบ ดังนี้

 

 

       1. ระบบผิวหนัง (Intergumentary System) ทำหน้าที่ห่อหุ้มปกคลุมร่างกาย ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอวัยวะที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนัง เช่น ขน ผม เล็บ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำมัน

 


 

 

      2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ทำหน้าที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว

 



            3. ระบบโครงกระดูก (Skeletal System) ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย

 


             4. ระบบหมุนเวียนโลหิต (Circulatory System) ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย



    5. ระบบหายใจ (Respiratory System) ทำหน้าที่รับออกซิเจนจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์จากภายใน ออกมาขับทิ้งสู่ภายนอกร่างกาย โดยอาศัยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นตัวกลางในการลำเลียงแก๊ส


 6. ระบบประสาท (Nervous System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกระบบในร่างกาย ให้สัมพันธ์กันโดยทำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อนอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับและ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก




           ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังและระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วย รับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฏิบัติงาน

7. ระบบต่อมต่าง ๆ (glands System) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีและของเหลวโดยทำงานร่วมกับระบบประสาทในการควบคุมปฏิกริยาการ เผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย



  8. ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย




9. ระบบขับถ่าย (Excretory System) ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการให้ออกจากร่างกาย



10. ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive System) ทำหน้าที่สืบทอด ดำรงและขยายเผ่าพันธุ์ ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อไม่ให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์








 

 

ที่มา

http://www.baanjomyut.com/library_2/our_body/index.html    วันที่ 31 มกราคม 2556